ข้อมูล เทศบาล



ประวัติความเป็นมา

        เทศบาลตำบลกระจับ มีพื้นที่ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของอำเภอบ้านโป่งห่างจากอำเภอบ้านโป่ง ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การปลูกพืชไร่และทำนา ซึ่งเดิม   มีฐานะเป็น“สุขาภิบาลกระจับ”  จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2506  (ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 80 ตอนที่ 114 หน้า 2626  ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506) และต่อมาเปลี่ยนแปลงฐานะจาก “สุขาภิบาลกระจับ”  เป็น  “เทศบาลตำบลกระจับ” ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาล  เป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นมา มีพื้นที่ จำนวน   9.1 ตารางกิโลเมตร มีทางหลวงหมายเลข 4 เดิม (ถนนเพชรเกษมสายเก่า) และทางหลวงหมายเลข 323  (ถนนทรงพล)  ตัดผ่าน   โดยมีลักษณะพื้นที่ตั้งฉากกับถนนดังกล่าวจากศูนย์กลางถนน ข้างละ  500  เมตร  มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯประมาณ  65  กิโลเมตร

        ปัจจุบันสำนักงานเทศบาลตั้งอยู่ที่ ถนนเพชรเกษมสายเก่า (สามแยกกระจับ – หนองโพ) เลขที่  49  หมู่ที่  9  ตำบลหนองอ้อ  อำเภอบ้านโป่ง  จังหวัดราชบุรี  บนเนื้อที่  1  ไร่  1  งาน   94  ตารางวา

 

วิสัยทัศน์การพัฒนา

          “ เมืองน่าอยู่ มุ่งสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนเข้มแข็งยั้งยืน ”

ภารกิจหลักหรือพันธกิจการพัฒนาเทศบาลตำบลกระจับ

1.  ปรับปรุงและพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน  ด้านสาธารณูปโภค  ด้านแหล่งน้ำให้ได้มาตรฐาน

     และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

2.  การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการแก้ไขปัญหาสังคม

3.  ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

4.  ส่งเสริมการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน

5.  บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาเป็นเมืองน่าอยู่

6.  ส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

7.  ส่งเสริมกระบวนการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลและพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
ตำบลหนองอ้อ 0 0 0 0 คน
หมู่ 0 (หนองอ้อ) 3 25 27 52 คน
หมู่ 3 หัวโป่ง 144 110 131 241 คน
หมู่ 4 หนองอ้อ 27 62 67 129 คน
หมู่ 5 บ้านสามแยกกระจับ 398 32 391 423 คน
หมู่ 9 บ้านหนองกระจ่อย 284 434 467 901 คน
หมู่ 10 บ้านหนองตะแคง 516 667 734 1,401 คน
หมู่ 11 บ้านทุ่งน้อย 852 656 719 1,375 คน
หมู่ 13 บ้านโรงข้าวสาร 99 81 94 175 คน
หมู่ 14 บ้านหนองเจริญ 264 348 386 734 คน
หมู่ 15 บ้นาทุ่งเจริญ 185 301 309 610 คน
ตำบลดอนกระเบื้อง 0 0 0 0 คน
หมู่ 2 บ้านดอนกระเบื้อง 94 739 812 1,551 คน
หมู่ 4 บ้านดอนกระเบื้อง 345 340 383 723 คน
หมู่ 5 บ้านหนองกระถิน 27 64 63 127 คน
หมู่ 9 บ้านร่วมใจพัฒนา 91 169 174 343 คน
ข้อมูลรวม : คน

สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ

ที่ตั้ง

        เทศบาลตำบลกระจับ มีพื้นที่ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของอำเภอบ้านโป่ง ห่างจากอำเภอบ้านโป่ง ระยะทาง ประมาณ 5 กิโลเมตร  มีพื้นที่ จำนวน 9.1 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ราบลุ่ม บริเวณชุมชนมีถนนสายสำคัญผ่าน คือ ทางหลวงหมายเลข 4 เดิม (ถนนเพชรเกษมสายเก่า) และทางหลวงหมายเลข 323 ( บ้านโป่ง -กาญจนบุรี) ตัดผ่าน โดยขอบเขตพื้นที่เทศบาลมีลักษณะตั้งฉากกับถนนสายสำคัญดังกล่าว มีระยะออกไปจากศูนย์กลางถนนข้างละ 500 เมตร

        พื้นที่ของเทศบาลมีอาณาเขตติดต่อ             ดังนี้

        ทิศเหนือ              ติดต่อ   ตำบลหนองอ้อ           อำเภอบ้านโป่ง          จังหวัดราชบุรี

        ทิศตะวันออก       ติดต่อ   ตำบลสระกระเทียม    อำเภอเมืองนครปฐม   จังหวัดนครปฐม

        ทิศใต้                   ติดต่อ   ตำบลหนองอ้อ          อำเภอบ้านโป่ง           จังหวัดราชบุรี

                                                 ตำบลดอนกระเบื้อง    อำเภอบ้านโป่ง          จังหวัดราชบุรีและ

                                                 ตำบลดอนกระเบื้อง     อำเภอโพธาราม       จังหวัดราชบุรี

          ทิศตะวันตก       ติดต่อ   ตำบลดอนกระเบื้อง     อำเภอบ้านโป่ง         จังหวัดราชบุรี

                                                 ตำบลหนองอ้อ            อำเภอบ้านโป่ง         จังหวัดราชบุรี

ลักษณะภูมิอากาศ

        ลักษณะภูมิอากาศในรอบปี    แบ่งออกเป็น    3   ฤดู     ดังนี้

        ฤดูร้อน           เริ่มตั้งแต่                   เดือนมีนาคม         ถึง    เดือนมิถุนายน

        ฤดูฝน             เริ่มตั้งแต่                  เดือนกรกฎาคม      ถึง     เดือนตุลาคม

        ฤดูหนาว          เริ่มตั้งแต่                  เดือนพฤศจิกายน   ถึง     เดือนกุมภาพันธ์

        ในเขตเทศบาลตำบลกระจับ จะมีฝนตกชุกในราวเดือนกันยายน เดือนตุลาคม และจะมี    ช่วงแล้งมากในระหว่างเดือนมีนาคม และเดือนเมษายนของทุกปี

เนื้อที่

        เทศบาลตำบลกระจับ   มีเนื้อที่ประมาณ  9.1  ตารางกิโลเมตร  

ภูมิประเทศ

        ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลตำบลกระจับ  มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การปลูกพืชและทำนา   มีพื้นที่จำนวน 9.1 ตารางกิโลเมตร มีทางหลวงหมายเลข 4 เดิม (ถนนเพชรเกษมสายเก่า) และทางหลวงหมายเลข 323 (ถนนทรงพล) ตัดผ่าน โดยมีลักษณะพื้นที่ตั้งฉากกับถนนดังกล่าวจากศูนย์กลางถนนข้างละ 500 เมตร มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ  65  กิโลเมตร

การเมืองการปกครอง

        โครงสร้างและอัตรากำลังในการบริหารงานของเทศบาล ในปัจจุบัน  เทศบาลตำบลกระจับประกอบด้วย  2  องค์กร 2 ส่วนที่สำคัญ  คือ  สภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี

        สภาเทศบาล  ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน  12  คน  เรียกว่า สมาชิกสภาเทศบาล (ส.ท.) มีวาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ  4  ปี

        นายกเทศมนตรี

        นายกเทศมนตรี จำนวน  1  คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาล และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาล และลูกจ้างเทศบาล            มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ  4  ปี

        นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรี ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาลเป็น ผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของเทศบาล ได้ไม่เกิน จำนวน  2  คน 

        นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี ซึ่งมิใช่สมาชิกสภาเทศบาล จำนวนรวมกันไม่เกิน 2 คน    

        นอกจากสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองแล้ว  เทศบาลตำบลกระจับยังประกอบด้วยพนักงานเทศบาล  และลูกจ้าง  ซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณของเทศบาลฯ   มีหน้าที่รับผิดชอบในงานประจำทั่วไปตามส่วนการงานต่างๆ  โดยมีผู้บังคับบัญชาสูงสุด  คือ  ปลัดเทศบาล   เป็นผู้บังคับบัญชารองจากนายกเทศมนตรี และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดหรือตามที่นายกเทศมนตรีมอบหมาย

 

ระบบเศรษฐกิจ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจหลักของเทศบาลตำบลกระจับ ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมทางด้านอุตสาหกรรม
โดยปัจจุบันประชากรวัยทำงานในเขตเทศบาลตำบลกระจับประกอบอาชีพรับจ้าง เป็นช่างฝีมือในโรงงานอุตสาหกรรมและเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการต่างๆ ในเขตเทศบาล โดยสถานประกอบการด้านต่างๆ มีดังนี้

   ด้านอุตสาหกรรม แยกตามขนาดการลงทุน (Capital Intensive) ได้เป็น 3 ขนาด  คือ
   - โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (เงินลงทุนมากกว่า 100 ล้าน)      จำนวน     8    แห่ง 
   - โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง (เงินลงทุนระหว่าง 10-100 ล้าน)  จำนวน    35
   แห่ง         - โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก (เงินลงทุนต่ำกว่า 10 ล้าน)          จำนวน    89  แห่ง

 สถานประกอบการด้านอุตสาหกรรม  แยกตามขนาดจำนวนการจ้างงาน
   1)  อู่ต่อรถ   จำนวน  9 แห่ง       เป็นวิสาหกิจขนาดใหญ่    จำนวน     6 แห่ง

เป็นวิสาหกิจขนาดกลาง   จำนวน     1 แห่ง

เป็นวิสาหกิจขนาดเล็ก    จำนวน      2 แห่ง

โรงงานประเภทอุตสาหกรรมอาหาร  จำนวน    7    แห่ง 

เป็นวิสาหกิจขนาดใหญ่    จำนวน      1        แห่ง

เป็นวิสาหกิจขนาดกลาง   จำนวน      6        แห่ง

เป็นวิสาหกิจขนาดเล็ก    จำนวน      -         แห่ง

3)  โรงงานประเภทสิ่งทอ       จำนวน     4      แห่ง 

เป็นวิสาหกิจขนาดใหญ่    จำนวน      4        แห่ง

เป็นวิสาหกิจขนาดกลาง   จำนวน       -       แห่ง

เป็นวิสาหกิจขนาดเล็ก    จำนวน      -        แห่ง

4)  โรงงานประเภทแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ผลิตภัณฑ์กระดาษ   จำนวน    3   แห่ง 

เป็นวิสาหกิจขนาดใหญ่    จำนวน       -       แห่ง

เป็นวิสาหกิจขนาดกลาง   จำนวน      2       แห่ง

เป็นวิสาหกิจขนาดเล็ก    จำนวน      1       แห่ง

5)  โรงสี     จำนวน    1       แห่ง 

เป็นวิสาหกิจขนาดใหญ่    จำนวน      -      แห่ง

เป็นวิสาหกิจขนาดกลาง   จำนวน      -       แห่ง

เป็นวิสาหกิจขนาดเล็ก    จำนวน      1      แห่ง

6)  สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม(ธุรกิจค้าปลีก)   จำนวน     5      แห่ง  เช่น

6.1 สถานีบริการน้ำมัน                       จำนวน      4     แห่ง

6.2 ห้างสรรพสินค้า                          จำนวน      3     แห่ง

6.3 มินิมาร์ท                                  จำนวน    17      แห่ง

6.4 ร้านค้าทั่วไป                              จำนวน    67     แห่ง

6.5 ตลาดนัด                                  จำนวน      1    แห่ง

7)  สถานประกอบการด้านบริการ

-โรงแรม จำนวน       2   แห่ง     

-ธนาคาร จำนวน      6    แห่ง 

นอกจากนี้ ประชาชนในพื้นที่ยังคงประกอบกิจกรรมทางด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา และพืช

ไร่ (อ้อย)  ผลผลิตที่ได้ไม่คงที่ขึ้นอยู่กับสภาพตามฤดูกาล ทำให้ระดับรายได้ไม่แน่นอน สำหรับการปศุสัตว์  ได้แก่ การเลี้ยงโคนม เป็ด ไก่ และสุกร ซึ่งเป็นพื้นที่ประมาณ 3 ใน 10 ของพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร  ทั้งนี้ เกษตรกรที่ประกอบอาชีพเลี้ยงโคนมจะส่งขายน้ำนมดิบแก่สหกรณ์โคนมหนองโพ (ในพระบรมราชูปถัมภ์) โดยปัจจุบันการเพาะปลูกพืชไร่ในพื้นที่จะเป็นการปลูกเพื่อเป็นพืชอาหารสัตว์แก่โคและสุกรดังกล่าว

เกษตรกรรม จากพื้นที่ทั้งหมดของเทศบาล จำนวน 5,687.50 ไร่  เป็นเนื้อที่ถือครองทางการเกษตร  3,314.94 ไร่  คิดเป็นร้อยละ 58.28 ของเทศบาล โดยมีพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญ คือ พืชไร่  ได้แก่ ข้าวและอ้อย   

 

        

 

สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

การศึกษา 

        โรงเรียนเทศบาลบาลตำบลกระจับ จำแนกเป็น

       1. โรงเรียนระดับอาชีวะศึกษา จำนวน 1 โรงเรียน คือโรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก

        2.โรงเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน  1 โรงเรียน คือ  โรงเรียนของรัฐ (สังกัดการประถมศึกษาแห่งชาติ) จำนวน 1  โรงเรียน  ได้แก่   โรงเรียนวัดจันทาราม (ตั้งตรงจิตร 5)

        3.  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกระจับ  จำนวน  2  แห่ง คือ 
             3.1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกระจับ (รร.วัดจันทาราม ตั้งตรงจิตร 5)
             3.2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกระจับ (บึงกระจับ)

ศาสนา

        ประชากรในเขตเทศบาลตำบลกระจับมีหลายเชื้อชาติ เช่น ไทย จีน ไทยโยนก (ยวน)  โดยประชากรในเขตเทศบาลส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นอัตรา  ร้อยละ  85  โดยในพื้นที่เทศบาล   มีศาสนสถาน จำนวน  1 แห่ง คือ วัดจันทาราม  ซึ่งมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ  ที่ชาวบ้านโป่ง และประชาชนในพื้นที่อื่นให้ความเคารพอย่างมาก  นอกจากนี้ประชาชนในตำบลดอนกระเบื้อง  ที่อยู่ในเขตเทศบาลยังนับถือศาสนาคริสต์  โดยมี ศาสนสถาน  จำนวน  1  แห่ง  คือ  วัดนักบุญมิคาเอล ดอนกระเบื้อง ซึ่งศาสนสสถานทั้ง 2 แห่ง ในพื้นที่ล้วนมีความเก่าแก่ และเป็นที่เคารพของประชาชนมาอย่างยาวนาน

ลักษณะทางวัฒนธรรม

        เนื่องจากชุมชนในเขตเทศบาลตำบลกระจับ เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ภาคกลาง  จึงมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเหมือนกับคนไทยภาคกลางทั่วไป โดยมีการประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญต่างๆ  ทางศาสนา เช่น การอุปสมบท  วันสงกรานต์  วันเข้าพรรษา  ประเพณีลอยกระทง  นอกจากนี้ประชากรในพื้นที่มีลักษณะการอยู่อาศัยเป็นครอบครัวใหญ่   และยังมีการรวมตัวกันทางสังคม และวัฒนธรรมประเพณีของชนบางกลุ่มอยู่  รวมถึงความร่วมมือทางด้านสังคม   มีการจัดตั้งชุมชนย่อย จำนวน 12  ชุมชน  ลักษณะความร่วมมือที่เกิดขึ้นมีแบ่งกลุ่ม และรวมตัวตามลักษณะพื้นที่ ที่อยู่อาศัยใกล้เคียงกันแบบอัตโนมัติ เช่น มีการรวมตัวกันเพื่อร่วมกิจกรรมทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ  การบริจาคโลหิต  หรือการทำกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญ     ทางศาสนา  วัฒนธรรม   ประเพณีต่างๆ   เป็นต้น

การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

การคมนาคม การจราจร

        การคมนาคมขนส่งในเขตเทศบาลใช้ยานพาหนะทางบกเป็นหลัก โดยมีเส้นทางคมนาคมสายสำคัญ  จำนวน  2  สาย  ดังนี้

        - ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) เป็นเส้นทางสายหลักติดต่อระหว่างจังหวัดในภาคกลางไปยังภาคใต้ ผ่านอำเภอบ้านโป่ง โพธาราม บางแพ เมืองราชบุรีและ  ปากท่อ ต่อไปยังจังหวัดเพชรบุรีและภาคใต้

        - ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 323 (บ้านโป่ง – กาญจนบุรี) แยกจากถนน  เพชรเกษม บริเวณกิโลเมตรที่ 66 ผ่านบ้านโป่ง ท่ามะกา ท่าม่วง แล้วไปยังจังหวัดกาญจนบุรี

        จากการที่พื้นที่ในเขตเทศบาล เป็นบริเวณเขตติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด  ที่เป็นย่านชุมชนและเศรษฐกิจที่สำคัญ (อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี อำเภอท่ามะกา อำเภอท่าเรือ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี  อำเภอเมืองนครปฐม  อำเภอกำแพงแสน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม)  จึงทำให้มีประชาชนที่เดินทางผ่านหรือเข้ามาติดต่อทำกิจธุระในเขตเทศบาล หรือใช้เส้นทางในเขตเทศบาลเป็นทางผ่านจำนวนมากประกอบกับมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่เป็นระยะๆ จึงทำให้การจราจรบนถนนประสบปัญหาการติดขัดและเกิดอุบัติเหตุ อยู่บ้าง  โดยเฉพาะบริเวณทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข  323  ในช่วงเปลี่ยนกะงานของพนักงานโรงงาน  ( ช่วงบ่ายและช่วงเที่ยงคืน )

        การขนส่งผู้โดยสาร  ปัจจุบันในเขตเทศบาล การคมนาคมทางรถยนต์มีความสะดวกและเป็นที่นิยมที่สุด  โดยเฉพาะการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล ได้แก่  รถยนต์และรถจักรยานยนต์ สำหรับการเดินทางระหว่างอำเภอใกล้เคียง จะมีรถโดยสารสาธารณะประจำทาง ให้บริการจำนวน  2  สาย  คือ  บ้านโป่ง – โพธาราม  และสายกาญจนบรี – ราชบุรี  ผ่านเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  4  และมีรถโดยสารปรับอากาศและรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด ผ่านทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 323  ได้แก่  กรุงเทพฯ – กาญจนบุรี ( ปรับอากาศ ) , กรุงเทพฯ – บ้านโป่ง , บ้านโป่ง – ราชบุรี , ราชบุรี - กาญจนบุรี  รวมถึง  รถตู้บริการ  ได้แก่  กรุงเทพฯ         ( ปิ่นเกล้า ) – บ้านโป่ง  และ กรุงเทพฯ ( อนุสาวรีย์ / หมอชิต ) – กาญจนบุรี

การประปา

        การดำเนินกิจการประปาในเขตเทศบาล อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลกระจับ    มีจำนวนผู้ใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลรวมจำนวนทั้งสิ้น 2,242 ราย (ข้อมูล ณ กันยายน 2564)

การไฟฟ้า

        การดำเนินการเกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับประชาชนในเขตเทศบาลอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าภูมิภาค อำเภอบ้านโป่ง (ซึ่งมีพื้นที่ความรับผิดชอบครอบคลุมทั่วอำเภอ) โดยการไฟฟ้าได้ดำเนินการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไปที่อยู่ตามบ้านเรือน  สถานธุรกิจ อุตสาหกรรมต่าง  ๆ และหน่วยงานราชการ

การสื่อสารและโทรคมนาคม

        เขตเทศบาลตำบลกระจับ ถือเป็นพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่หลากหลาย ได้แก่  โรงงานอุตสาหกรรม  บริษัท  ห้างสรรพสินค้า  ร้านค้า  และโรงแรม  ระบบโทรคมนาคม จึงเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อกิจกรรมทางธุรกิจดังกล่าว

        - การบริการด้านโทรศัพท์ในชุมชนเทศบาล  ปัจจุบันประชาชนสามารถใช้บริการระบบโทรศัพท์พื้นฐานและระบบสื่อสารไร้สาย ( โทรศัพท์เคลื่อนที่ ) ในรูปแบบโทรศัพท์ส่วนบุคคลและโทรศัพท์สาธารณะได้จากผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม ได้แก่  บริษัท  ทศท  คอร์ปอเรชั่น  จำกัด  (มหาชน)  TOT  Corporation Public Company Limited   และบริษัท ที ที  แอนด์  ที  จำกัด  (มหาชน)  และบริษัท กสท  โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) CAT Telecom Public Company  Limited  ซึ่งสามารถให้บริการด้านโทรศัพท์ได้ครอบคลุมทั้งเขตเทศบาล โดยบริการดังกล่าวยังรวมถึงบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ  บริการสื่อสารข้อมูลและบริการอินเทอร์เน็ต

        - การบริการด้านไปรษณีย์ ในเขตเทศบาลที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข  จำนวน  1  แห่ง

        นอกจากนี้ในเขตเทศบาล  ยังมีหอกระจายข่าวและวิทยุชุมชนที่เป็นช่องทางการสื่อสาร   ที่สามารถตอบสนองการสื่อสารเพื่อชีวิตชุมชน  เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ โดยมีวิทยุชุมชนที่ส่งกระจายเสียงประมาณ  10  คลื่นความถี่  และมีหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ( ที่มีการจำหน่ายและรับบริการด้านการประชาสัมพันธ์ในเขตเทศบาลตำบลกระจับ)  ได้แก่  พลังชน เสียงปวงชน กระแสข่าว ไทยก้าวหน้า สู่ชนบท และ ยอดแหลมนิวส์ 

การสาธารณสุข

        สถานพยาบาลในเขตเทศบาลตำบลกระจับ  ประกอบด้วย  คลินิกเอกชน  จำนวน  1  แห่ง  และสถานีอนามัยของรัฐ  จำนวน  2  แห่ง  คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนกระเบื้อง  และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองอ้อ โดยที่สามารถรองรับความต้องการใช้บริการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างพอเพียง  เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่หากเจ็บป่วยจะเดินทางไปรับการรักษาในอำเภอบ้านโป่ง ซึ่งมีโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน รวมถึงคลินิกเอกชนมากมายหลายแห่ง  เพราะมีระยะทางห่างจากเขตเทศบาลตำบลกระจับเพียง  5  กิโลเมตรเท่านั้น 
     
        การสังคมสงเคราะห์  
        - 
ผู้มีสิทธิ์ได้รับเบี้ยชีพผู้สูงอายุ              จำนวน  1,255  ราย
        - ผู้มีสิทธิ์ได้รับเบี้ยยังชีพผู้พิการ            จำนวน     192  ราย
        - ผู้มีสิทธิ์ได้รับเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์      จำนวน        8  ราย
        ที่มา :  งานสวัสดิการสังคม    สำนักปลัดเทศบาล   เทศบาลตำบลกระจับ   (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2564)

การดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย

        ดำเนินการโดยฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีรถดับเพลิง 4  คัน  หัวท่อประปาข้างถนนสำหรับต่อสายสูบน้ำดับเพลิง  จำนวน  12  จุด

การกำจัดขยะ

        เทศบาลดำเนินการจัดเก็บขยะภายในเขตเทศบาล โดยวิธีจ้างเอกชนดำเนินการเก็บขยะภายในเขตเทศบาล
 มีรถขยะ จำนวน 2 คัน

กีฬา  นันทนาการ  และการพักผ่อน

        กีฬา

        เทศบาลตำบลกระจับมีลานกีฬาเพื่อให้ประชาชนและเยาวชนได้มาออกกำลัง  เล่นกีฬา  จำนวน  4  แห่ง คือ  ลานกีฬาบ้านโพธิ์เจริญ  สนามกีฬาของโรงเรียน วัดจันทาราม สนามกีฬาชั่วคราวข้างเทศบาลตำบลกระจับ และสนามกีฬาของสวนสาธารณะบึงกระจับ  ซึ่งสามารถใช้เป็นสถานที่เล่นกีฬาได้หลายประเภท  เช่นฟุตบอล  วอลเล่ย์บอล  บาสเกตบอล  ตะกร้อ  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้งไว้สำหรับบริการประชาชน  จำนวน  12  แห่ง  กระจายไว้ในชุมชนในเขตเทศบาล ตำบลกระจับ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย

        นันทนาการและการพักผ่อน

        เทศบาลตำบลกระจับ มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ จำนวน  1 แห่ง คือ สวนสาธารณะบึงกระจับ  หมู่ที่  11  ตำบลหนองอ้อ ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถใช้เป็นสถานที่สำหรับการทำนันทนาการ และการพักผ่อน ออกกำลังกายยามว่าง

 

• หน่วยงานและอำนาจหน้าที่

• การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

• ตรวจสอบภายใน

     • แผนการตรวจสอบภายใน

     • รายงานการตรวจสอบภายใน

     • งานควบคุมภายใน

     • การบริหารความเสี่ยง

• การปฏิบัติงาน

     • คู่มือการปฏิบัติงาน

     • มาตรฐานการปฏิบัติงาน

     • ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

• การให้บริการ

     • คู่มือการให้บริการ

     • มาตรฐานการให้บริการ

     • สถิติการให้บริการ

     • ผลสำรวจความพึงพอใจ
ในการให้บริการ


• การบริหารทรัพยากรบุคคล

     • นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล

     • การดำเนินการตามนโยบาย
การบริหารทรัพยากรบุคคล


     • หลักเกณฑ์การบริหารและ
พัฒนาทรัพยากรบุคคล


     • รายงานผลการบริหารและ
พัฒนาทรัพยากรบุคคลประจําปี